About

- เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล บทความวิชาการ งานเขียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การฉายภาพอนาคตศาสตร์ของการพัฒนาประชาคมอาเซียน และเป็นแหล่งแสวงหาองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม ของผู้ประกอบการ ประชาชน พลเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ และยังเป็นการให้ข้อมูลกระตุ้น เตือน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

AEC กำลังไล่ล่าคุณ ตอนที่2


Thailand ; As AEC catches you ! พวกเราจะเป็นอย่างไรกัน

ต่อไป หลังจากคลื่่นจากโลกแห่งอนาคต ตามมาไล่ล่า! 

(คลื่นลูกแรก AEC ) ตอนที่ 2


จากการวิเคราะห์และสร้างภาพอนาคต อ.พอล จาก ASEAN Business Matching ฉายภาพอนาคตใน  5 ปีข้างหน้าเป็นแบบนี้ครับ

5. หัวเมืองรองจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด: ใน 5 ปีข้างหน้า ในปี 2018 




“หัวเมืองรอง จะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ขนาดใหญ่อย่างก้าวกระโดด” หัวเมืองรองตามแนว
สถานีรถไฟความเร็วสูง (ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลักด้วยระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง) จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยจะพัฒนาพื้นที่ใหม่เป็นชุมชนเมืองแบบใหม่ ในหลายพื้นที่ที่ มีเขตอุตสาหกรรมอยู่ร่วมด้วยก็จะยกระดับชุมชน GREEN Industrial Estate และพัฒนาเป็นเขตพาณิชกรรมควบคู่กัน ในขณะเดียวกันก็จะมีการพัฒนาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ ชนชั้นกลาง ถึง ชนชั้นสูง ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี โดยคนกลุ่มนี้จะนิยมพักอาศัยในบ้านพักที่มีที่ดินแปลงขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า ได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ทั้งนี้ พื้นที่ชุมชนรอบๆ สถานีรถไฟฟ้า ในรัศมีการเดินทางดังกล่าว จะเป็นแหล่งพื้นที่พักอาศัยที่สามารถไปทำงานในเมืองหลักและกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ในขณะที่อัตราการพัฒนาเมืองหลวงของกรุงเทพมหานครจะหนาแน่นมาก และมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น สถานศึกษาหลายแห่ง รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ จะหาทางและมีแผนย้ายออกจากเมืองหลวง พื้นที่ชุมชนใดที่สามารถจัดโซนนิ่งหรือผังเมืองได้ดี ก็จะสามารถพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

6. ได้เวลาของ Inter Brands :ใน 5 ปีข้างหน้า ในปี 2018


“กิจการและการบริการรูปแบบใหม่ๆจากต่างประเทศ จะเปิดเพิ่มขึ้นอย่างมากมายการ
บริการและการค้าในหัวเมืองขนาดใหญ่ จะเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด จะมีกิจการ การค้าข้ามชาติเข้ามาลงทุนอย่างมากมาย บริษัทใหม่เหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด แต่จะมีการพัฒนาการบริการโดยนำเข้า Know How ในกระบวนการให้บริการเข้ามาด้วย ธุรกิจของประเทศท้องถิ่น(รวมทั้งไทย)จะอยู่ในสถานการณ์ตั้งรับ กิจการหลายแห่งของท้องถิ่นจะประสบความยากลำบาก องค์กรเหล่านั้นจะเกิดความโกลาหล ทั้งในแง่การบริหารและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารของกิจการเหล่านี้จะถูกท้าทายความสามารถในการบริหาร โดยจะต้องเผชิญหน้ากับความสับสน ความวุ่นวายทั้งส่วนของลูกค้า ทั้งส่วนของคู่แข่งรายใหม่และรายเก่า ทั้งส่วนของคู่ค้า และรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในของกิจการเพื่อความอยู่รอด นี่คือระยะเวลา 3ปีหลังจากประชาคมอาเซียนมีผลเต็มรูปแบบและต้องเตรียมตัวรับมือกับการเข้าสู่เขตการค้าอาเซียน +3 (อยู่ในเวทีเดียวกัน)กับยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจอีก 3 ชาติ(ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี) ในอนาคตอันใกล้ ( ปี 2021)



7. บริการแก่ทุกคน :ใน 5 ปีข้างหน้า ในปี 2018 


“การบริการสาธารณะ จะต้องให้บริการแก่พลเมืองอาเซียนทุกชาติ” เนื่องด้วยการไหลบ่าข้ามพรมแดนไปมาของพลเมืองอาเซียน ดังนั้นในการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งการค้า การบริการและการลงทุน ของพลเมืองอาเซียนจะเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการสาธารณะในทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข ก็จะมีความจำเป็นที่จะต้องให้บริการแก่พลเมืองอาเซียนทุกชาติ รวมถึงพลเมืองชาติอื่นๆที่จะเข้าติดต่อ และทำธุรกรรมกับพลเมืองอาเซียนด้วย เอกสารและภาษาราชการในหน่วยงานต่างๆ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการสื่อสารในการทำธุรกรรมต่างๆกับพลเมืองอาเซียนเหล่านั้น ดังนั้นก็จะทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษากลาง(ซึ่งในอาเซียน ภาษาราชการก็คือภาษาอังกฤษ) ดังนั้นในองค์กรต่างๆที่จะให้บริการสาธารณะเหล่านั้น จะต้องพัฒนาขีดสมรรถนะด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษของบุคลากรในองค์กร ทั้งในด้านเอกสารและในด้านการสื่อสารอื่นๆ ตัวอย่างการเตรียมตัวที่ดีและเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ประเทศสิงค์โปร์ซึ่งมี การให้บริการสาธารณะต่างๆ ที่ให้บริการด้วยภาษาราชการของประเทศสิงค์โปร์ ถึง 4 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนแมนดาริน ภาษามาเลย์และภาษาทมิฬ


8.ยุคของเมืองนานาชาติ : ใน 5 ปีข้างหน้า ในปี 2018


“เมืองหลัก จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองนานาชาติ(International Urbanization)อย่างชัดเจน” ในเมืองหลักของแต่ละประเทศในอาเซียน ซึ่งได้แก่ เมืองหลวงและเมืองที่อยู่บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ(Economic Corridor)ของภูมิภาค โดยเมืองเหล่านี้จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ พัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองนานาชาติ ที่มีสัดส่วนของพลเมืองอาเซียน ในเมืองนานาชาติเหล่านี้ จะสูงกว่าเมืองรองอื่นๆ อย่างชัดเจน ในเมืองนานาชาติเหล่านี้จะมีบริการที่เป็นลักษณะนานาชาติมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การทำธุรกรรม การค้า การลงทุน การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และด้วยความต้องการการรับบริการเหล่านี้ของพลเมืองอาเซียนและผู้คนที่มาติดต่อ ทำธุรกรรมซึ่งกันและกัน จะเป็นตัวขับเคลื่อน ( Demand Driven )การพัฒนาเมืองไปสู่เมืองนานาชาติ( International Urbanization) มาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้คน และมาตรฐานของเมืองนานาชาติ จะเป็นตัวผลักดันการพัฒนาเมืองไปสู่เมืองนานาชาติในที่สุด

ติดตามตอนที่สาม สัปดาห์หน้าครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น