แนวทางการพัฒนาธุรกิจในปัจจุบันที่กำลังไปสู่อนาคต Green Econmy ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ หากองค์กรยังอยากจะมีที่ยืนต่อไป จาก สำรวจของ PWC ในรายงานผลการสำรวจที่ถูกจัดทำขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2555 ยังทำการสำรวจผู้บริหารบริษัทจำนวน 211 รายในประชาคมอาเซียน 5 ประเทศที่กำลังพัฒนา ได้แก่ มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร PWC ประเทศไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ล่าสุดใน Going beyond philanthropy ? - Pulse-check on sustainability ว่า กระแสการพัฒนาความยั่งยืนธุรกิจได้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่ามีบริษัทในอาเซียนที่ทำการสำรวจถึงร้อยละ 81 ที่มีการตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของบรรดาธุรกิจในภูมิภาค และยังพบว่า ต้นทุนทางด้านพลังงานและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอน (Energy and carbon-related costs) ยังเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย
ตัวอย่างการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย สู่ องค์กรสีเขียว
ในโครงการท่าเรือสีเขียว
“ท่าเรือแหลมฉบัง” ยกระดับสู่ “ท่าเรือสีเขียว” (Green Port) ทุ่มงบพัฒนาทุ่งกังหันลมเพือผลิตไฟฟ้าต่อเชือมกับระบบสายส่ง บน พื้นที่ 100 ไร่ ของการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นโครงการด้านพลังงานสะอาดที่นำพลังงานลม พลังแสงอาทิตย์ มาช่วยเสริมระบบพลังไฟฟ้า ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้นสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมกับนโยบายส่งเสริมและยกระดับการให้บริการ โดยเน้นให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าสามารถลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้ราวร้อยละ 10 -20
การพัฒนาและก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก นอกจากการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อดูความคุ้มทุนแล้ว ยังต้องศึกษาวิจัยและสำรวจทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 พยายามให้มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเชิงระบบนิเวศวิทยา สภาพน้ำ อากาศ การออกแบบและการก่อสร้างอาคารและท่าเรือที่ช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าเรือสีเขียวที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
เพื่ออากาศที่สดใส
เลือกใช้เครื่องจักรขนถ่ายตู้สินค้าแบบใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น ปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานกองตู้ รถหัวลากตู้สินค้า สนับสนุนให้รถบรรทุกตู้สินค้าใช้พลังงานไฟฟ้าหรือก๊าซธรรมชาติ รณรงค์ให้เรือที่มาจอดเทียบท่าใช้พลังงานไฟฟ้าจากท่าเรือแทนการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ดีเซล นอกจากนี้ยังมีมาตรการควบคุมโดยการตรวจสอบมลพิษของเครื่องจักร รถ และเรือที่อยู่บริเวณท่าเรือไม่ให้สูงเกินกว่าที่กำหนด
เพื่อน้ำที่สะอาด
เพื่อน้ำที่สะอาด
ระหว่างการก่อสร้างและหลังจากก่อสร้างเสร็จสิ้นจะมีการประเมินคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะช่วงที่กำลังขุดลอก เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อน้ำบริเวณท่าเรือเกินมาตรฐานที่กำหนด (ตามมาตรการตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)) นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากกิจกรรมบริเวณท่าเรือหรือน้ำเสียจากเรือที่มาจอดเทียบท่า
ออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารอาคารและบริเวณใกล้เคียงให้ประหยัดพลังงานและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการใช้ผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ำภายในอาคาร ใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
การรณรงค์และกำหนดนโยบายให้ทุกคนมีความห่วงใยทางด้านสิ่งแวดล้อม และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยขั้นแรกจะออกแบบและก่อสร้างท่าเรือตามมาตรฐานของ Leadership of Energy and Environment Design (LEED) ลดปริมาณขยะ การใช้กระดาษ การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ฝึกอบรมบุคลากร และให้ข้อมูลเรื่องท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
กรณีศึกษา เรื่อง พลังงานลม
การท่าเรือแห่งประเทศไทย ถือเป็นอีกหน่วยงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับสูง เพราะเป็นจุดขนส่งสำคัญทางทะเลของประเทศ รวมถึงในภูมิภาค และเพื่อเสริมสร้างหน่วยงานและลดการใช้พลังงาน จึงได้ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้น เป็นการเน้น "พลังงานทางเลือกหมุนเวียน"
เริ่มที่ท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดแรก เพราะตั้งแต่ปี 2553 ท่าเรือแห่งนี้ถือเป็นหน่วยงานที่ใช้พลังงานไฟฟ้าระดับสูง มีการใช้ไฟฟ้าถึง 65,183 ล้านหน่วยไฟฟ้า คิดเป็นเงินกว่า 195 ล้านบาท รวมทั้งอัตราเติบโตในแต่ละปีถึงร้อยละ 9.2% และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องตามกิจกรรมการขนส่งทางทะเล
พลังงานทางเลือกหมุนเวียน ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ "Green Port" มุ่งเน้นการดำเนินการต่างๆ ในเชิงอนุรักษ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน โดยในการนำร่องนี้ มีการติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 10 กิโลวัตต์ จำนวน 84 ชุด บริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งกังหันลมนี้จะช่วยเสริมระบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาทิ ไฟส่องสว่างบริเวณถนน พื้นที่สาธารณะ ประตูตรวจสอบสินค้า คลังสินค้า และอาคารสำนักงานของท่าเรือแหลมฉบัง
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า
เริ่มที่ท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดแรก เพราะตั้งแต่ปี 2553 ท่าเรือแห่งนี้ถือเป็นหน่วยงานที่ใช้พลังงานไฟฟ้าระดับสูง มีการใช้ไฟฟ้าถึง 65,183 ล้านหน่วยไฟฟ้า คิดเป็นเงินกว่า 195 ล้านบาท รวมทั้งอัตราเติบโตในแต่ละปีถึงร้อยละ 9.2% และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องตามกิจกรรมการขนส่งทางทะเล
พลังงานทางเลือกหมุนเวียน ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ "Green Port" มุ่งเน้นการดำเนินการต่างๆ ในเชิงอนุรักษ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน โดยในการนำร่องนี้ มีการติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 10 กิโลวัตต์ จำนวน 84 ชุด บริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งกังหันลมนี้จะช่วยเสริมระบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาทิ ไฟส่องสว่างบริเวณถนน พื้นที่สาธารณะ ประตูตรวจสอบสินค้า คลังสินค้า และอาคารสำนักงานของท่าเรือแหลมฉบัง
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า
จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์รณรงค์ไปยังภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม เป็นต้นแบบในการลดการใช้พลังงานและเลือกที่จะใช้พลังงานทดแทน ไม่เพียงแต่นำร่องที่ "แหลมฉบัง" แต่ต้องการนำร่องให้กับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย และการดำเนินโครงการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า จัดตั้งเพื่อพัฒนานำเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในการผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้งานในองค์กร ถือว่าเป็นโครงการต้นแบบในการร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนในการใช้ไฟฟ้าจากน้ำมัน และถ่านหิน ตลอดจนสร้างและปลูกจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีคุณค่าให้กับชุมชน
"สิ่งสำคัญนั้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่การท่าเรือฯ ในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการริเริ่มใช้พลังงานที่สะอาดให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่กำหนดให้การจัดการกับพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ คาดว่า โครงการนี้จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยร้อยละ 20" นายประเสริฐกล่าว
"สิ่งสำคัญนั้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่การท่าเรือฯ ในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการริเริ่มใช้พลังงานที่สะอาดให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่กำหนดให้การจัดการกับพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ คาดว่า โครงการนี้จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยร้อยละ 20" นายประเสริฐกล่าว
วิรชัย โรยนรินทร์ รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า
เทคโนโลยีของกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 80% ผลิตในประเทศ ยกเว้นแม่เหล็ก เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายให้ผลิตสิ่งนี้ขึ้น จึงต้องนำเข้าจากเกาหลีและจีน ตัวกังหันมีความสูง 18 เมตร ใบยาว 4 เมตร ถูกออกแบบสำหรับความเร็วลมของประเทศไทยโดยเฉพาะ
"กังหันตัวนี้ถูกออกแบบมาให้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ความเร็วลมแค่ 2 เมตรต่อวินาที ซึ่งต่ำมาก เพราะกังหันปกติจะผลิตกระแสไฟก็ต่อเมื่อความเร็วลม 4-5 เมตรต่อวินาที แต่ของเรา 2 เมตรก็เริ่มผลิตแล้ว ตัวกังหันจะเบามากและแข็งแรงมาก ต่างจากที่นำเข้า "ตัวกังหันจะทำงานอัตโนมัติ จะผลิตไฟฟ้าไปเรื่อยๆ จนกว่าความเร็วลม 13 เมตรต่อวินาที คือพายุ ตัวกังหันจะหยุดเดินอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายของใบพัด และจะเริ่มทำงานใหม่อัตโนมัติทันทีหลังจากสภาพลมกลับมาปกติ" วิรชัยอธิบาย และบอกเพิ่มเติมอีกว่า ถ้ากังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้ามีความแรงเกิน 420 โวลต์ กังหันก็จะหยุดทันทีเช่นกัน เพราะโดยมาตรฐานความแรงของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่แค่ 380 โวลต์ สำหรับอายุการใช้งาน อยู่ที่ 15 ปี โดยจะต้องดูแลรักษาทุกปี เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง
ในอนาคต จะมีความร่วมมือกันที่จะการพัฒนาต่อยอดกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าให้ถึง 50 กิโลวัตต์ ที่แหลมฉบัง ซึ่งคาดว่าอีกคงไม่นาน เชื่อว่าเมื่อมีก้าวแรก ก็ต้องมีก้าวต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักของท่าเรือแหลมฉบังที่เริ่มโครงการนี้ และอยากให้องค์กรอื่นๆ ได้เห็นความสำคัญด้วยคือ สนับสนุนให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในอนาคต จะมีความร่วมมือกันที่จะการพัฒนาต่อยอดกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าให้ถึง 50 กิโลวัตต์ ที่แหลมฉบัง ซึ่งคาดว่าอีกคงไม่นาน เชื่อว่าเมื่อมีก้าวแรก ก็ต้องมีก้าวต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักของท่าเรือแหลมฉบังที่เริ่มโครงการนี้ และอยากให้องค์กรอื่นๆ ได้เห็นความสำคัญด้วยคือ สนับสนุนให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เสียงสะท้อนการท่าเรือฯทำไมต้อง′กังหันลม′ ?
เรือเอก อิทธิชัย สุพรรณกูล รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย"โครงการนี้สามารถแสดงถึงวิสัยทัศน์ และนโยบายของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และถือเอาพลังงานทางเลือกใหม่มาใช้เป็นพลังงานทดแทน เพื่อเป็นการเสริมระบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น อาคารสำนักงาน พื้นที่ต่างๆ ตลอดจนประตูตรวจสอบสินค้า คลังสินค้า เป็นต้น
เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง
"สิ่งที่การท่าเรือต้องการพัฒนามากที่สุดคือ การใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและต้องการลดพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทางท่าเรือแหลมฉบังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยประยุกต์ พลังงานลม น้ำ และแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พิจารณาว่า สิ่งใดใกล้ตัวมากที่สุดมาใช้ประโยชน์ โดยได้เปรียบเทียบระหว่างการใช้แสงแดดกับลม ผลที่ได้คือ ลมจะมีความคุ้มค่ามากกว่า เพราะแสงแดดจะใช้พื้นที่เยอะและการดูแลรักษาค่อนข้างยาก
"เป้าหมายเดิมศึกษาไว้ 8 ปีถึงจะกลับมาคุ้มค่า แต่ปีที่ผ่านมา ถือว่าคุ้มค่าเกินคาด"
"เป้าหมายเดิมศึกษาไว้ 8 ปีถึงจะกลับมาคุ้มค่า แต่ปีที่ผ่านมา ถือว่าคุ้มค่าเกินคาด"
Resource from :
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น